เลือกให้ถูก ต้อง “CLOUD SERVER”
ตอบโจทย์ สะดวกสบาย แถมยังได้คุ้ม!!!
หากคุณเป็นหนึ่งคนที่มีฝันอยากจะมี E-Commerce Platform เป็นของตัวเอง แน่นอนว่าสิ่งที่คุณต้องเตรียมก็คือ
ตัวกลางเพื่อที่จะใช้เป็นตัวกลางมาประมวลผลให้ทุกคำร้องขอ ทุกการกระทำ หรือทุกการสั่งซื้อของผู้คนที่เข้าใช้
Platform เราให้ไปอย่างลื่นไหล เรียบง่าย พร้อมรองรับจำนวนคนที่มีสิทธิ์หลั่งไหลเข้ามาอย่างมหาศาลได้ทุกเมื่อ
ใช่ครับ คุณไม่จำเป็นจะต้องอยากมี E-Commerce Platform เป็นของตัวเองเท่านั้นตามที่ผมยกตัวอย่างไป คุณอาจ
จะปิ๊งไอเดียอยากจะเปิดเว็บสตรีมมิ่งคลิปไอดอล เว็บบอร์ดเพื่อแลกเปลี่ยนภาษาพูดคุยกัน เว็บคาสิโนออนไลน์ (แค่ยก
ตัวอย่างให้เห็นภาพเฉย ๆ ครับ) หรือจะทำแอปพลิเคชันอะไรเชิงธุรกิจก็ตามแต่ ยังไงคุณก็คงเลี่ยงที่จะไม่หา In-
House Server สักเครื่องมาติดบ้านไว้อย่างแน่นอน
แต่ด้วยยุคสมัยและวิทยาการที่เปลี่ยนไป เราจะใช้ In-House Server แค่เครื่องเดียวคอยประมวลทุกคำสั่งบน
Platform ก็คงไ่ม่ไหวด้วยปัจจัยภายนอกในด้านต่าง ๆ Cloud Server จึงถือกำเนิดมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ
ของคุณ และช่วยแก้ปัญหาด้านระบบให้คุณได้แบบคลอบคลุม ครบทุกประเด็น
เทียบความคุ้มค่า “CLOUD SERVER”
เหนือกว่า IN-HOUSE SERVER ด้านไหนบ้าง?
วันนี้ทาง READY IDC จึงจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างและความเหนือชั้นกว่าของ Cloud Server เมื่อเทียบกับ
การใช้ In-House Server เครื่องเดียวเดี่ยว ๆ โดด ๆ ให้เห็นกับแบบชัด ๆ เพื่อเป็นการช่วยตัดสินใจขึ้นอีก 1 ระดับ
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ใฝ่ฝันอยากจะเปิด สร้าง หรือแม้แต่ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมไว้ก่อนสำหรับแผน Platform ในอนาคต
1. พื้นที่การจัดวาง
แน่นอนว่าคิดจะใช้ Physical Server มาตั้งแบบในบ้าน ก็ต้องกินพื้นที่บ้างเป็นธรรมดา ยิ่งคุณสร้าง Platform ขนาด
ใหญ่ ยิ่งต้องอัด CPU, Memory หรือแม้แต่ Harddisk เสริมเพิ่มเข้าไป เครื่องก็จะยิ่งใหญ่เทอะทะเป็นเท่าตัว แต่ปัญหา
นี้จะหมดไปเมื่อคุณหันมาใช้บริการ Cloud Server แทน
ด้วยความที่เป็นเซิฟเวอร์เสมือน (Virtual Server) อันดับแรกที่เหนือกว่าเลยคือตัว Cloud Server นั้นไม่มีเป็นเครื่อง
จริง ๆ หมายความว่านอกจากจะไม่ต้องคอยกังวลใจเรื่องการวางให้เกะกะพื้นที่ในบ้านหรือออฟฟิศแล้ว คุณก็ยัง
สามารถปรับแต่งขนาดและเพิ่ม/ลดทรัพยากรที่ต้องใช้ได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการจัดวางเลยแม้แต่น้อย ทำให้
คล่องตัวในการใช้งานอย่างสุด ๆ
2. เวลาในการประมวล
อีกหนี่งปัจจัยที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะคงไม่มีใครอยากให้ Platform ของเราอืด ๆ หน่วง ๆ หรือแฮงก์
ตลอดเวลาที่มีคนเข้าใช้งานหรอก จริงไหมครับ?
ในแง่นี้ หากเป็นตัว Physical In-House Server แล้ว ก็ถือว่าหนักเอาการอยู่ เพราะอย่างที่เกริ่นไว้แต่แรกแล้วว่า
Server ประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นเครื่องเดียว เดี่ยว ๆ โดด ๆ ประมวลผลการทำงานด้วยตัวของมันเองภายใต้ CPU
และ Memory เดียวกัน นั่นหมายความว่า หาก Server หรือตัวประกอบส่วนใดส่วนใดขัดข้องขึ้นมา ก็อาจทำให้
Platform ที่เจ้า Server ตัวนี้รองรับอยู่เกิดรวนจนอาจใช้งานไม่ได้ในทันที ส่วนเรื่องความเร็วในการประมวลผลนั้น ก็
ขึ้นอยู่กับกำลังและความสามารถที่คุณปรับแต่งไว้แต่แรก
แต่ในทางกลับกัน Cloud Server เกิดจากการรวมตัวกันของ Physical Server หลาย ๆ ตัวที่ประมวลผลการทำงาน
ไปพร้อม ๆ กัน โดยแต่ละตัวก็จะมี CPU และ Memory แบ่งใช้ตาม Physical Server นั้น ๆ จึงทำให้ใช้เวลาเฉลี่ยในการ
ประมวลผล (Load Balance) ที่น้อยกว่าแต่รวดเร็วยิ่งกว่า พร้อมส่งคำร้องขอจากผู้ใช้งานไปยังปลายทางได้ไวแทบ
จะติดจรวด
และที่สำคัญที่สุด หาก Physical Server ตัวใดตัวหนึ่งของ Cloud Server ขัดข้องขึ้นมา ข้อมูลใด ๆ ก็ตามที่อยู่ใน
Server นั้น ๆ ก็จะโดนโยกให้ไปที่ Server ตัวใหม่แทนทันที จึงทำให้การประมวลผลเป็นไปอย่างไหลลื่น ไม่มีสะดุด ใคร
เข้ามาใช้งาน Platform ของคุณก็ไม่มีอารมณ์เพราะค้างหรือล่มบ่อยนั้นเองครับ
3. ขีดจำกัดในการขยาย
ข้อนี้อาจจะไม่ต้องพูดเยอะ เพราะ Physical Server นั้นคุณสามารถเพิ่ม CPU, Memory และ Harddisk ได้เอง แต่
อะไรที่มากับเครื่องอยู่แล้ว เช่น Specifications ต่าง ๆ (หรือที่คนไทยเรียกกันง่าย ๆ ว่า Specs) ไม่สามารถปรับแต่ง
ได้เลย เท่ากับว่าได้มาครั้งแรกมีแค่ไหน ใช้งานไปคุณก็จะได้เท่านั้น
ในขณะที่ถ้าเป็น Cloud Server นั้น คุณสามารถเลือกเพิ่ม/ลดทุกอย่างที่ว่าไปได้เอง แถมยังไม่ต้องคอยกังวลเรื่อง
ความจุในการเก็บข้อมูลอีกด้วย คุณจึงเลือกเติมแต่งทุกอย่างได้แบบสบาย ๆ อยากใช้มากเท่าไหร่ก็แค่จิ้ม
4. ความปลอดภัยของข้อมูล
พอขึ้นชื่อว่าเป็น Cloud Server แล้ว ก็เหมือนเป็นการ “ยกพลขึ้นเมฆ” ที่แท้จริง กล่าวคือ ทุกอย่างที่ตัว Server จะ
ช่วยสำรองไว้ได้ก็จะสำรองให้คุณในทันที ทำให้เจ้า Cloud Server ที่มาพร้อมการออกแบบแบบ HA (High
Availabality) นั้น สามารถช่วยย้ายระบบการทำงานไปยัง Server อีกตัว รวมไปถึงการสำรองข้อมูลต่าง ๆ ในกรณี
ที่ Harddisk ของคุณเกิดชำรุดเอากลางคัน ไม่ให้หล่นหาย และสามารถกู้คืนได้ทุกครั้งที่คุณต้องการ
ซึ่งพอเปรียบเทียบกับ Physical In-House Server โดยทั่วไปแล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดขึ้นอีกว่า Cloud Server ย่อมเหนือ
กว่า เพราะหาก Harddisk ตัวใดตัวหนึ่งหรือมีส่วนใดส่วนหนึ่งของ Physical Server เสียหายขึ้นมา นั่นเท่ากับว่า
ข้อมูลที่คุณเก็บสำรองไว้ในเครื่องสามารถหล่นหายตามกาลเวลาได้ทุกเมื่อ มิหนำซ้ำบางครั้งพังก็คือพัง ไม่มีแม้แต่
ฟังก์ชันย้อนเวลากลับหลังให้คุณไปกู้คืนข้อมูลมาได้อีก จึงนับว่ามีความเสี่ยงในด้านนี้สูงมาก ๆ ครับ
5. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
โดยในที่นี้จะขอแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อย่อย ๆ ด้วยกัน ก็คือ ค่าบำรุงดูแลรักษา (Maintenance) และในส่วนของราคา
ค่าใช้บริการ (Cost of Services)
ค่าบำรุงดูแลรักษา (Maintenance)
ต่อเนื่องมาจากข้อที่แล้ว Physical In-House Server ซื้อมาจ่ายไป แต่ความเสี่ยงที่ Harddisk จะพังหรือเสีย
กลางทางก็ย่อมมีมาก และยิ่งพังหรือเสียมากเท่าไหร่ ก็หมายถึงค่าซ่อมแซม หรือค่าซื้อเปลี่ยนใหม่ที่สูงขึ้น
ตามไปด้วยนั่นเอง ยังไม่นับรวมถึงการต้องการซื้อส่วนต่าง ๆ มาเพิ่มเพื่ออัพเกรด Server ให้ทำงานได้ง่าย
ขึ้น แรงขึ้นในอนาคตนะครับ
ซึ่งถ้าเป็นในส่วนของ Cloud Server แล้ว คุณไม่ต้องกังวลเรื่องพวกนี้เลย เพราะหากคุณต้องการอัพเกรด
CPU หรือ Hardware ใหม่ ๆ นั่นจะเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการโดยตรง ทำให้คุณประหยัดทั้งเวลา และประหยัด
ต้นทุนในการซื้อของใหม่ ๆ มาแต่งเติมเพิ่มขึ้นเพื่อการใช้งานที่สะดวกสบายยิ่งกว่า และหากมีปัญหาหรือพบ
เหตุการใช้งานขัดข้อง คุณก็สามารถติดต่อทีมช่างหรือทีมดูแลให้คำปรึกษาจากผู้ให้บริการได้โดยตรง ซึ่ง
ปกติทีมงานก็พร้อม Standby ช่วยเหลือคุณตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว
และยิ่งการเลือกใช้ Cloud Server มีบริการจากทีมงานคอยดูแลแบบนี้ นั่นหมายความว่า คุณก็จะสามารถ
ประหยัดต้นทุนในการว่าจ้างทีม IT หรือทีมเทคนิคเป็นของตัวเองเพื่อมาดูแลระบบและ Server ของคุณ
โดยตรงด้วย คุ้มว่าคุ้มแล้ว คุณยังแทบไม่ต้องออกแรงอะไร ปล่อยให้ผู้ให้บริการและ Cloud Server ทำงาน
ต่อไปตามกลไกของมันก็พอ
ค่าใช้บริการ (Cost of Services)
“ใช้มากก็จ่ายมาก” สามารถนิยามได้ทั้ง 2 แบบการเลือกใช้ ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้ Physical In-House Server
(ขนาดของ Server, ขนาด CPU, ฯลฯ) หรือ Cloud Server (เช่า/ซื้อพื้นที่ที่คุณต้องการแบบรายวัน/เดือน)
ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้หากดูแบบผิวเผินก็อาจจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่การไม่ต้องเป็นเจ้าของเครื่อง Server แล้วต้อง
คอยมาดูแลส่วนนั้นส่วนนี้ให้ทำงานได้อย่างปกติในทุก ๆ วันจะยิ่งทำคุณเสียเวลานะครับ ถ้าเป็นไปได้ ผม
แนะนำว่า เลือกใช้บริการ Cloud Server แต่แรกเลย น่าจะง่ายและสะดวกคุณที่สุดแล้วล่ะ
แล้ว “CLOUD SERVER”
มีให้บริการกี่แบบกันนะ???
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงสงสัยกันใช่ไหมครับ ว่าคุณต้องเปิด Platform ใหม่อย่างเดียวเลยเหรอถึงจะใช้บริการ Cloud
Server ได้ ไม่จริงครับ ระบบที่ออกแบบมาให้คุณใช้ง่ายและสะดวกสบายขนาดนี้ ย่อมต้องมีทางเลือกให้ผู้ใช้บริการเข้า
ถึงได้มากกว่า 1 ตัวเลือกแน่นอน
และในวันนี้ READY IDC ก็จะขอแนะนำรูปแบบการให้บริการ Cloud Server ให้คุณรู้จักกันถึงที่ 3 แบบด้วยกัน
Platform as a Service (PaaS)
บริการ Cloud Server ที่รองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) เว็บไซต์ (Website) หรือ แอปพลิเคชัน
(Application) โดยที่บริษัทหรือองค์กร ทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ สามารถเข้าถึง Platform ที่พัฒนาไว้ได้
โดยทันที โดยไม่ต้องลงทุนด้านการซื้อ Server มาใช้เลยสักแดงเดียว ตามที่ผมยกตัวอย่างไปข้างต้นนั่นเอง
Software as a Service (SaaS)
Cloud Server ที่ให้บริการผ่านซอฟต์แวร์ออนไลน์ (Online Software) เช่น ในรูปแบบของแอปพลิเคชัน
(Application) ผ่านระบบอีเมลหรือบัญชีออนไลน์ได้โดยตรง โดยที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมแต่
อย่างใด เหมาะสำหรับต่อยอดการพัฒนาการให้บริการ เติมเต็มประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งาน Application
ทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือธุรกรรมออนไลน์ภายในได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
Infrastructure as a Service (IaaS)
บริการเช่าเครื่องจากผู้ให้บริการในฐานะผู้ใช้งาน ให้คุณสามารถกำหนดทรัพยากรต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง ไม่
ว่าจะเป็นขนาดของ CPU, Memory หรือ Harddisk ให้เหมาะสมกับการใช้งาน และบรรลุวัตถุประสงค์ของ
องค์กรได้แบบสบาย ๆ เพราะมีเครื่องใช้เองถึงที่ เหมาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรที่ต้องการใช้งาน
Hardware อย่างหนักหน่วง และมีทีม IT หรือทีมเทคนิคประจำภายในอยู่แล้ว
นี่แหละครับ ความคุ้มค่าที่ “CLOUD SERVER” จะให้คุณได้
เข้าถึงความสะดวกสบาย แถมยังมาพร้อมความปลอดภัยของข้อมูลและความลื่นไหลยืดหยุ่นแบบนี้แล้ว ผมว่า คุณ
คงไม่ต้องเลือกเยอะแล้วล่ะครับ 🙂
หากคุณสนใจอยากใช้บริการ Cloud Server จาก READY IDC
สามารถติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามช่องทางด้านล่างนี้
Email: sales@readyidc.com
หรือ www.readyidc.com